วันพฤหัสบดีที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2554

แผนการสอน รายวิชาภาษาอังกฤษ 1 ชั่วโมง

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
ชื่อหน่วย  Alphabets   เรื่อง  My Alphabets 
รหัส ชื่อรายวิชา   11101  ภาษาอังกฤษ                                กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
ชั้นประถมศึกษาปีที่    1         ภาคเรียนที่  1                   เวลา      1   ชั่วโมง
ผู้สอน  นางสาวมาลินี      วิศิษฏ์โสทร
โรงเรียนราชประชานุเคราะห์  24    สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ

1.สาระสำคัญ
1.  ตัวอักษรภาษาอังกฤษ A-Z
2.มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด

มาตรฐาน ต 1.1   เข้าใจและตีความเรื่องที่ฟังและอ่านจากสื่อประเภทต่างๆ  และแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล

ตัวชี้วัด
   1.1 ป. 1/2    ระบุตัวอักษรและเสียง อ่านออกเสียงและสะกดคำง่ายๆ ถูกต้องตามหลักการอ่าน
3. จุดประสงค์การเรียนรู้สู่ตัวชี้วัด
1.    นักเรียนสามารถระบุตัวอักษร A – Z ได้ถูกต้อง
2.    นักเรียนมีความใฝ่เรียนรู้
4. สาระการเรียนรู้
                ความรู้
                           -  อักษรภาษาอังกฤษ
         ทักษะกระบวนการ
               -  การระตัวอักษรภาษาอังกฤษ
5. ความเข้าใจที่คงทน
                        -  สามารถระบุตัวอักษรภาษาอังกฤษได้
6. กิจกรรมการเรียนรู้
กิจกรรมนำเข้าสู่การเรียน  10  นาที
1. ครูและนักเรียนสนทนาทักทายกันในวาระเปิดเทอมใหม่ คุณครูแนะนำตัวเองเป็นภาษาอังกฤษ และแปลให้นักเรียน
ฟัง  จากนั้นให้นักเรียนออกเสียงประโยค My name is ……..แล้วให้นักเรียนคนหนึ่งลุกขึ้นยืนแล้วพูดตามครูว่า
My name is (ชื่อของนักเรียนคนที่ลุกขึ้นยืน.) จากนั้นครูชี้ไปที่นักเรียนคนไหน คนนั้นยืนขึ้นแล้วบอกชื่อตนเอง
My name is……………  จนครบทุกคน
กิจกรรมที่ช่วยพัฒนาผู้เรียน
กิจกรรมที่ 1  เรื่อง My alphabets  (1  ชั่วโมง)
ชั่วโมงที่ 1
1.  ขั้นนำ
                1.  นักเรียนฟังเพลง ABC’ S Song ทำนองที่ครูถนัด จากแผนภูมิเพลงหรือใบความรู้ที่ 1โดยครูร้องให้ฟัง 2-3
เที่ยว หรือฟังเพลงจาก CD แล้วนักเรียนร้องตาม
               2.  นักเรียนฝึกอ่านออกเสียง A-Z ตามครูจากแผนภูมิเพลงที่ครูติดบนกระดาน 2-3 ครั้ง
2.  ขั้นสอน
              3.  นักเรียนแต่ละกลุ่มฝึกอ่านออกเสียงตัวอักษร A-Z จากแผนภูมิเพลง  โดยนักเรียนที่สมัครใจ เป็นผู้นำในการ
อ่านออกเสียง 2 - 3 ครั้ง
             4.  ครูชูบัตรอักษรภาษาอังกฤษ Aa  แล้วให้นักเรียนช่วยกันบอกว่าตัวอักษรอะไร เป็นกลุ่มและรายบุคคลด้วย
ประโยค  What letter is this?    This is  Aa.  (Bb, Cc,…)    นักเรียนอ่านประโยคตามครู
            5.  นักเรียนแต่ละกลุ่มรับบัตรอักษรภาษาอังกฤษ 4-5 บัตร ฝึกถามด้วยประโยค  What letter is this? 
This is  Aa.  (Bb, Cc,…) ช่วยกันเรียงอักษรตามลำดับ และอ่านออกเสียงพร้อมกัน
3.  ขั้นสรุป
           6.  แบ่งนักเรียนเป็น 2 กลุ่ม ยืนเป็น 2 แถว เล่นเกม Touch Me! โดยปฏิบัติดังนี้
                  6.1  นักเรียนอาสาสมัครกลุ่มละ 1 คน ไปเขียนตัวอักษรภาษาอังกฤษบนกระดานคนละ 5- 6 ตัว ครูให้นักเรียน
ออกเสียงตัวอักษรตามครูทีละ 1 ตัว 
                 6.2  ครูออกเสียงตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวใดตัวหนึ่ง นักเรียนตัวแทนแถวหน้าออกไปแตะอักษร ภาษาอังกฤษที่
ครูอ่านออกเสียงก่อนได้คะแนน และให้เพื่อนๆ ทั้งห้องออกเสียงตามกลุ่มที่ได้คะแนนมาก เรียกว่า The winner
           7.  นักเรียนทำกิจกรรมตามใบงาน Worksheet 1
The  Alphabet  Song
A   B   C   D   E   F   G                                      H   I   J   K  L   M   N   O   P
Q R S      T U V     W X Y  Z .                       Now  I know  my ABC
Next time won’t you sing with me.
Worksheet 1 ( English Letters)
1.  เรียงอักษรตามลำดับก่อนหลัง
ตัวอย่าง          


D             B             C        A
A         B       C     D   


1
   K           L      J

2
   Y     X      Z    

3
   M    O     N 



2.  ให้เติมตัวอักษร ที่หายไปให้เป็นไปตามลำดับ
1.              A          B            _              D             _              F            
2.            _              P             Q            _              S             T

Name    …………………………….…………….………………………………..Pratom  1

กิจกรรมรวบยอด
1.  นักเรียนทำใบงาน ที่ 1
2.  ครูเฉลยและบอกคะแนน

7. สื่อการเรียนรู้/แหล่งเรียนรู้
-          แผนภูมิเพลง
-     Worksheet 1 English Letters
8. การวัดและประเมินผล
วิธีการวัดและประเมินผล
1. ประเมินความรับผิดชอบ
2. ประเมินจากการตรวจใบงาน(ผลงาน,แบบฝึกหัด)
3. สังเกตพฤติกรรมการเรียน
เครื่องมือการวัดผลและประเมินผล
1. แบบประเมินความรับผิดชอบ
2. แบบประเมินจากการตรวจใบงาน(ผลงาน , แบบฝึกหัด)
การประเมินผลรวบยอด
                ชิ้นงาน
ผลงานชิ้นที่ 1 English Letters
                ภาระงาน
นักเรียนสามารถระบุตัวอักษรภาษาอังกฤษได้


                                            การประเมิน

ประเด็น
 การประเมิน
ระดับคุณภาพ
ดีมาก ( 4 )
ดี ( 3 )
พอใช้ ( 2 )
ปรับปรุง ( 1 )
การพูด
สามารถระบุตัวอักษรภาษาอังกฤษ ได้ อย่างถูกต้องร้อยละ 80 ขึ้นไป
สามารถระบุตัวอักษรภาษาอังกฤษ ได้อย่างถูกต้องร้อยละ 70-79
สามารถระบุตัวอักษรภาษาอังกฤษ ได้อย่างถูกต้องร้อยละ 40-69
สามารถระบุตัวอักษรภาษาอังกฤษ ได้อย่างถูกต้องร้อยละ 40


แบบประเมินการพูด
ชื่อ -  นามสกุล
ระดับคุณภาพ
4
3
2
1






























เกณฑ์การประเมิน 
ระดับ  4   =  ดีมาก
ระดับ  3  = ดี
ระดับ  2  = พอใช้
ระดับ  1  =ปรับปรุง
                               
                                                      การประเมินความรับผิดชอบ
ชื่อ - นามสกุล
ประเด็นการประเมิน
ส่งงานตรงเวลา  ทุกครั้ง 
 (2)
ส่งงาน
 ไม่ตรงเวลา         (1)
ไม่ส่งงาน
(0)











เกณฑ์การประเมิน
ระดับ  ดี   =  2
ระดับ  ปานกลาง  = 1
ระดับ  ปรับปรุง  = 0




 
 

นวัตกรรมท้องถิ่น อำเภอเชียงคำ : ผ้าทอไทลื้อ

ผ้าฝ้ายทอมือไทลื้อ
Thai-Lue Hand-woven cotton


ผ้าทอไทลื้อ เป็นการทอผ้าที่สืบทอดกันมาช้านาน นับเป็นเอกลักษณ์ของชาวไทลื้อ อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา มีลวดลายเฉพาะคือผ้าทอลายไทลื้อผสมลายน้ำไหลและมีการทอผ้าเช็ดหน้า ตุงที่ใช้ประดับในงานเทศกาลต่าง ๆ  สามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น ผ้าตัดเสื้อ ผ้าถุง ผ้าคลุมเตียง ผ้าคลุมไหล่ ฯลฯ ซึ่งมีลวดลายต่าง ๆ อาทิ ลายขิด ลายน้ำไหล และลายจก เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีการทำผ้าบาติกที่ตำบลทุ่งกล้วย กิ่งอำเภอภูซาง และผ้าซิ่นฝ้ายทอมือที่ตำบลเชียงบาน อำเภอเชียงคำ
วัตถุดิบที่ใช้
               
ฝ้ายที่มีในท้องถิ่น
กระบวนการผลิต                 นำเส้นด้ายมากรอเข้ากับที่กรอด้าย และนำเข้าไปที่เครื่องทอผ้ากี่กระตุก ทำการทอตามลวดลายที่ต้องการ
การใช้/ประโยชน์
                ใช้สำหรับตัดเย็บเสื้อผ้า เป็นผ้าเช็ดหน้า



ประวัติความเป็นมาของเครื่องคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้เป็นผลมาจากการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือในการคำนวณซึ่งมีวิวัฒนาการนานมาแล้ว เริ่มจากเครื่องมือในการคำนวณเครื่องแรกคือ "ลูกคิด" (Abacus) ที่สร้างขึ้นในประเทศจีน เมื่อประมาณ 2,000-3,000 ปีมาแล้ว  จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2376 นักคณิตศาสต์ชาวอังกฤษ ชื่อ ชาร์ล แบบเบจ (Charles Babbage) ได้ประดิษฐ์เครื่องวิเคราะห์ (Analytical Engine) สามารถคำนวณค่าของตรีโกณมิติ ฟังก์ชั่นต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ การทำงานของเครื่องนี้แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนเก็บข้อมูล ส่วนคำนวณ และส่วนควบคุม ใช้ระบบพลังเครื่องยนต์ไอน้ำหมุนฟันเฟือง มีข้อมูลอยู่ในบัตรเจาะรู คำนวณได้โดยอัตโนมัติ และเก็บข้อมูลในหน่วยความจำ ก่อนจะพิมพ์ออกมาทางกระดาษหลักการของแบบเบจนี้เองที่ได้นำมาพัฒนาสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ เราจึงยกย่องให้แบบเบจเป็น บิดาแห่งเครื่องคอมพิวเตอร์  หลังจากนั้นเป็นต้นมา ได้มีผู้ประดิษฐ์เครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นมามากมายหลายขนาด ทำให้เป็นการเริ่มยุคของคอมพิวเตอร์อย่างแท้จริง   โดยสามารถจัดแบ่งคอมพิวเตอร์ออกได้เป็น 5 ยุค
ยุคที่  1  ( พ.ศ. 2489-2501)
ยุคที่ 2 ( พ.ศ. 2502-2506)
ยุคที่ 3 (พ.ศ. 2507-2512)
ยุคที่ 4 ( พ.ศ. 2513 - 2532)
ยุคที่ 5 ( พ.ศ. 25333 - ปัจจุบัน)
ยุคที่  1  ( พ.ศ. 2489-2501)
               เป็นการประดิษฐ์เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มิใช่เครื่องคำนวณ โดยเมาช์ลีและเอ็กเคอร์ต (Mauchly and Eckert) ได้นำแนวความคิดนั้นมาประดิษฐ์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพมากเครื่องหนึ่งเรียกว่า ENIAC (Electronic Numericial Integrator and Calculator) ซึ่งต่อมาได้ทำการปรับปรุงการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น   และได้ประดิษฐ์เครื่อง UNIVAC (Universal Automatic Computer) ขึ้นเพื่อใช้ในการสำรวจสำมะโนประชากรประจำปี 
จึงนับได้ว่า UNIVAC เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกที่ถูกใช้งานในเชิงธุรกิจ ซึ่งนับเป็นการเริ่มของเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคแรกอย่างแท้จริง เครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคนี้ใช้หลอดสุญญากาศในการควบคุมการทำงานของเครื่อง ซึ่งทำงานได้อย่างรวดเร็ว แต่มีขนาดใหญ่มากและราคาแพง ยุคแรกของคอมพิวเตอร์สิ้นสุดเมื่อมีผู้ประดิษฐ์ทรานซิสเตอร์มาใช้แทนหลอดสูญญากาศ
ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 1
ใช้อุปกรณ์ หลอดสุญญากาศ (Vacuum Tube) เป็นส่วนประกอบหลัก ทำให้ตัวเครื่องมีขนาดใหญ่ ใช้พลังงานไฟฟ้ามาก และเกิดความร้อนสูง
ทำงานด้วยภาษาเครื่อง (Machine Language) เท่านั้น
เริ่มมีการพัฒนาภาษาสัญลักษณ์ (Assembly / Symbolic Language) ขึ้นใช้งาน

ยุคที่ 2 ( พ.ศ. 2502-2506)
มีการนำทรานซิสเตอร์ มาใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์จึงทำให้เครื่องมีขนาดเล็กลง และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มีความรวดเร็วและแม่นยำมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ในยุคนี้ยังได้มีการคิดภาษาเพื่อใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เช่น ภาษาฟอร์แทน (FORTRAN) จึงทำให้ง่ายต่อการเขียนโปรแกรมสำหรับใช้กับเครื่อง
ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 2
ใช้อุปกรณ์ ทรานซิสเตอร์ (Transistor) ซึ่งสร้างจากสารกึ่งตัวนำ (Semi-Conductor) เป็นอุปกรณ์หลัก แทนหลอดสุญญากาศ เนื่องจากทรานซิสเตอร์เพียงตัวเดียว มีประสิทธิภาพในการทำงานเทียบเท่าหลอดสุญญากาศได้นับร้อยหลอด ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคนี้มีขนาดเล็ก ใช้พลังงานไฟฟ้าน้อย ความร้อนต่ำ ทำงานเร็ว และได้รับความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น เก็บข้อมูลได้ โดยใช้ส่วนความจำวงแหวนแม่เหล็ก (Magnetic Core)
มีความเร็วในการประมวลผลในหนึ่งคำสั่ง ประมาณหนึ่งในพันของวินาที (Millisecond : mS)
  สั่งงานได้สะดวกมากขึ้น เนื่องจากทำงานด้วยภาษาสัญลักษณ์ (Assembly Language)
  เริ่มพัฒนาภาษาระดับสูง (High Level Language) ขึ้นใช้งานในยุคนี้
ยุคที่ 3 (พ.ศ. 2507-2512)

คอมพิวเตอร์ในยุคนี้เริ่มต้นภายหลังจากการใช้ทรานซิสเตอร์ได้เพียง 5 ปี เนื่องจากได้มีการประดิษฐ์คิดค้นเกี่ยวกับวงจรรวม (Integrated-Circuit) หรือเรียกกันย่อๆ ว่า "ไอซี" (IC) ซึ่งไอซีนี้ทำให้ส่วนประกอบและวงจรต่างๆ สามารถวางลงได้บนแผ่นชิป (chip) เล็กๆ เพียงแผ่นเดียว จึงมีการนำเอาแผ่นชิปมาใช้แทนทรานซิสเตอร์ทำให้ประหยัดเนื้อที่ได้มาก นอกจากนี้ยังเริ่มมีการใช้งานระบบจัดการฐานข้อมูล (Data Base Management Systems : DBMS) และมีการพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ให้สามารถทำงานร่วมกันได้หลายๆ งานในเวลาเดียวกัน และมีระบบที่ผู้ใช้สามารถโต้ตอบกับเครื่องได้หลายๆ คน พร้อมๆ กัน (Time Sharing)
ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 3
  ใช้อุปกรณ์ วงจรรวม (Integrated Circuit : IC) หรือ ไอซี และวงจรรวมสเกลขนาดใหญ่ (Large
Scale Integration : LSI) เป็นอุปกรณ์หลัก ความเร็วในการประมวลผลในหนึ่งคำสั่ง ประมาณหนึ่งในล้านของวินาที (Microsecond : mS) (สูงกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 1 ประมาณ 1,000 เท่า)
 ทำงานได้ด้วยภาษาระดับสูงทั่วไป
ยุคที่ 4 ( พ.ศ. 2513 - 2532)


เป็นยุคที่นำสารกึ่งตัวนำมาสร้างเป็นวงจรรวมความจุสูงมาก (Very Large Scale Integrated : VLSI) ซึ่งสามารถย่อส่วนไอซีธรรมดาหลายๆ วงจรเข้ามาในวงจรเดียวกัน และมีการประดิษฐ์ ไมโครโพรเซสเซอร์ (Microprocessor) ขึ้น ทำให้เครื่องมีขนาดเล็ก ราคาถูกลง และมีความสามารถในการทำงานสูงและรวดเร็วมาก จึงทำให้มีคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) ถือกำเนิดขึ้นมาในยุคนี้
ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 4
ใช้อุปกรณ์ วงจรรวมสเกลขนาดใหญ่ (Large Scale Integration : LSI) และ วงจรรวมสเกลขนาด
ใหญ่มาก (Very Large Scale Integration : VLSI) เป็นอุปกรณ์หลัก
มีความเร็วในการประมวลผลแต่ละคำสั่ง ประมาณหนึ่งในพันล้านวินาที (Nanosecond : nS) และ
พัฒนาต่อมาจนมีความเร็วในการประมวลผลแต่ละคำสั่งประมาณหนึ่งในล้านล้านของวินาที (Picosecond : pS)
ยุคที่ 5 ( พ.ศ. 25333 - ปัจจุบัน)
ในยุคนี้ ได้มุ่งเน้นการพัฒนา ความสามารถในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ และ ความสะดวกสบายในการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ อย่างชัดเจน มีการพัฒนาสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาขนาดเล็กขนาดเล็ก (Portable Computer) ขึ้นใช้งานในยุคนี้ โครงการพัฒนาอุปกรณ์ VLSI ให้ใช้งานง่าย และมีความสามารถสูงขึ้น รวมทั้งโครงการวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับ ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) เป็นหัวใจของการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ในยุคนี้ โดยหวังให้ระบบคอมพิวเตอร์มีความรู้ สามารถวิเคราะห์ปัญหาด้วยเหตุผลองค์ประกอบของระบบปัญญาประดิษฐ์ ประกอบด้วย 4 หัวข้อ ได้แก่
1. ระบบหุ่นยนต์ หรือแขนกล (Robotics or Robotarm System)
คือหุ่นจำลองร่างกายมนุษย์ที่ควบคุมการทำงานด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ มีจุดประสงค์เพื่อให้ทำงานแทนมนุษย์ในงานที่ต้องการความเร็ว หรือเสี่ยงอันตราย เช่น แขนกลในโรงงานอุตสาหกรรม หรือหุ่นยนต์กู้ระเบิด เป็นต้น


 2. ระบบประมวลภาษาพูด (Natural Language Processing System)   คือ การพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถสังเคราะห์เสียงที่มีอยู่ในธรรมชาติ (Synthesize) เพื่อสื่อความหมายกับมนุษย์ เช่น เครื่องคิดเลขพูดได้ (Talking Calculator) หรือนาฬิกาปลุกพูดได้ (Talking Clock) เป็นต้น

   
3. การรู้จำเสียงพูด (Speech Recognition System) คือ การพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์เข้าใจภาษามนุษย์ และสามารถจดจำคำพูดของมนุษย์ได้อย่างต่อเนื่อง กล่าวคือเป็นการพัฒนาให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้ด้วยภาษาพูด เช่น งานระบบรักษาความปลอดภัย งานพิมพ์เอกสารสำหรับผู้พิการ เป็นต้น
4. ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System) คือ การพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์มีความรู้ รู้จักใช้เหตุผลในการวิเคราะห์ปัญหา โดยใช้ความรู้ที่มี หรือจากประสบการณ์ในการแก้ปัญหาหนึ่ง ไปแก้ไขปัญหาอื่นอย่างมีเหตุผล ระบบนี้จำเป็นต้องอาศัยฐานข้อมูล (Database) ซึ่งมนุษย์ผู้มีความรู้ความสามารถเป็นผู้กำหนดองค์ความรู้ไว้ในฐานข้อมูลดังกล่าว เพื่อให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถวิเคราะห์ปัญหาต่างๆ ได้จากฐานความรู้นั้น เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์วิเคราะห์โรค หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ทำนายโชคชะตา เป็นต้น